Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Kawizara | November 22, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

finance tech อีกหนึ่งทางเลือกในการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่า ตรงใจมากขึ้น

finance tech อีกหนึ่งทางเลือกในการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่า ตรงใจมากขึ้น
kawizara

ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่อง mobile payment กันไปหลายต่อหลายครั้งนะคะ อย่างเช่น M-PESA ในประเทศเคนย่าที่เป็นตัวเลือกในการจ่ายเงิน โอนเงินให้ผู้คนได้โดยไม่ต้องทะธุรกรมมใดๆ ผ่านแบงค์เลย ซึ่งนี่ก็สอดคล้องกับสิ่งที่ Bill Gates เคยพูดไว้ตั้งแต่ปี 1994 ว่า “Banking is necessary – banks are not.” หรือ การทำธุรกรรมทางการเงินนั้นสำคัญ แต่ธนาคารนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ

จริงๆ แล้วบทบาทของธนาคารที่ลดลงนั้นมีจุดเริ่มมาจากวิกฤติการซับไพร์มซึ่งส่งผลกระทบต่อวิกฤติเศรษฐกิจที่ลุกลามไปทั่วโลกในช่วงปี 2008-2009 ช่วงนั้นกทางการสหรัฐได้นำกฎหมาย ดอดด์-แฟรงค์ หรือ Dodd-Frank Wall Street Reform and Consumer Protection Act เข้ามาปฏิรูประบบการเงินของสหรัฐอเมริกาครั้งยิ่งใหญ่ โดยกฎนี้ได้บีบให้ธนาคารต้องเลือกว่าจะขึ้นราคาหรือจะยอมลดขนาดกิจการลงในสภาวะที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ลดลง

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเป็นโอกาสของธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ใช้งบในการลงทุนน้อยกว่า และให้บริการลูกค้าได้สะดวกสบายกว่าอย่างระบบการปล่อยกู้แบบออนไลน์ ซึ่งเมื่อผนวกกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและได้พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรื่องของอินเตอร์เนท และฐานข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง Big Data แล้วจึงทำให้ระบบนี้เป็นเทรนใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจนเป็นที่มาของคำว่า fintech หรือ finance tech ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของธนาคารแบบเดิมๆ

 

การให้กู้ยืมเงินแบบนี้สามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นและง่ายขึ้นเพราะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้โดยตรงไม่ต้องผ่านระบบและขั้นตอนยุ่งยากของธนาคารแบบเดิมๆ แถมยังมีความยืดหยุ่นมากกว่า เพราะลูกค้าสามารถกำหนดได้เองตามต้องการ

ยกตัวอย่างเช่นหากอยากจะกู้ซื้อรถแต่ไม่ยากยุ่งยากไม่ธนาคารและยื่นกู้เดินเอกตามขั้นตอนและไม่อยากจ่ายดอกสูงก็สามารถเข้ามาใช้บริการระบบนี้ได้ โดยเข้าไปที่หน้าเว็ปไซต์แล้วเลือกกรอกรายละเอียดและยอดที่ต้องการขอกู้ยืมรวมไปถึงดอกเบี้ยที่เราจะจ่ายไหวต่อเดือน จากนั้นผู้ที่เปิดเว็ปไซต์ให้บริการจะเป็นคนส่งข้อมูลเหล่านี้ไปให้ลูกค้าที่ต้องการปล่อยกู้เลือกว่าอยากจะลงทุนกับใคร ซึ่งในการกู้ยืนหนึ่งครั้งผู้ปล่อยกู้อาจจะไม่ต้องจ่ายทั้งก้อนเพราะสามารถรวมยอดกับผู้ปล่อยกู้คนอื่นๆ ได้ด้วย

งานนี้จึง win win คนกู้ได้ดอกถูก ขั้นตอนง่าย คนปล่อยกู้ก็ได้กำไรตามกำลังเงินที่ลงไป และเมื่อมีกากู้แล้วก็จะมีความไว้วางใจกันจนนำไปสู่การกู้ยืมแบบต่อเนื่อง ต่างจากการกู้ยืมกับธนาคารที่มักจะเป็นการกู้ยืมที่เป็นครั้งๆ ไป ด้วยเหตุนี้ลูกค้าจึงหันไปใช้บริการการกู้ยิทแบบใหม่นี้มากขึ้นเรื่อยๆ และจากผลสำรวจเผยว่ามีผู้คนจำนวน 33% ที่เชื่อว่าเราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้โดยไม่จำเป็นต้องมีธนาคารรูปแบบเดิมๆ แล้ว

ซึ่งหลายๆ คนก็มองว่าจากนี้ fintech จะขยายตัวเป็นมากกว่าการให้บริการกู้ยืมเงินแต่จะรุกสู่ตลาดอื่นๆ และเข้าแย่งส่วนแบ่งจากธนาคาร ทั้งด้านด้านอสังหา, Social Media for Business ไปจนถึงเรื่องของประกันภัยต่างๆ ในอนาคตอีกด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ธนาคารแบบเดิมๆ คงต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างตอนนี้เราก็เริ่มเห็นความร่วมมือระหว่างธนาคารและ fitech มากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น การประกาศความร่วมมือระหว่าง FundingCircle และ RBS เพื่อให้ บรรดาธุรกิจขนาดเล็กหลายพันรายในอังกฤษสามารถเข้าถึงการเงินได้มากขึ้น หรือ การประกาศร่วมมือกันระหว่าง Lending Club และ Citigroup โดยทางธราคารได้นำเอาระบบของ fitech เข้ามาปรับใช้เพื่อให้บริการครอบคลุมผู้กู้ที่ด้อยโอกาสและชุมชนต่างๆ ที่เข้าไม่ถึงธนาคาร ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง $150 ล้านเหรียญเป็นต้น

 

Source: techcrunch

comments