Image Image Image Image Image Image Image Image Image Image

Kawizara | November 22, 2024

Scroll to top

Top

No Comments

Visual Internet ยุคที่ภาพอาจสื่อความได้มากกว่าที่เห็น

Visual Internet ยุคที่ภาพอาจสื่อความได้มากกว่าที่เห็น
kawizara

เราคงปฏิเสธไม่ได้นะคะว่าหนึ่งในความสำเร็จของสมาร์โฟนที่เกิดขึ้นในยุคของเราก็คือการที่มันมาพร้อมกล้องดีๆ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ที่เราพบเห็นกันมากขึ้นและในยุคไอทีที่อินเตอร์เน็ทกำลังจะกลายมาเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานแบบนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดการแชร์ต่อไปยังโลกออนไลน์ คาดกันว่าแค่ภายในปี 2015 เองพวกเราก็มีภาพถ่ายกว่าล้านล้านภาพซึ่งนับว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมวงมนุษยชาติเลยก็ว่าได้

และภาพถ่ายมากมายขนาดนี้ในมุมหนึ่งมันก็คือ Big Data ที่สะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม สะท้อนวัฒนธรรม แนวคิด หรือความเป็นอยู่ของผู้คนในช่วงนั้นๆ ด้วย และจะดีแค่ไหนหากเราสามารถเชื่อมโยงและมีวิธีในการจัดการภาพที่บอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของผู้คนหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคนั้นๆ ได้ จนเป็นที่มาของคำว่า Visual Internet หรือยุคที่ผู้คนจะต้องเข้าใจและรู้จักนำเอาภาพที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ด้วย

Screen Shot 2558-07-31 at 11.34.46 AM

ซึ่งภาพแต่ละภาพนั้นมองได้เป็น 2ความหมายทั้งแบบ windows ที่พูดถึงรายละเอียดต่างๆ ของสิ่งที่อยู่ในภาพแบบตรงๆ เช่นมีบ้าน ต้นไม้ หรือคนอยู่ในภาพนั้นๆ และในแบบ mirrors ที่มองภาพผ่านอัลกอลิทึ่มต่างๆ อย่างเช่นของ Google ที่ช่วยให้เราค้นหาภาพถ่ายที่ต้องการได้จากหน้าเว็บไซต์ เช่นหากเราพิมพ์คำว่า  beauty หรือ ความงาม ภาพที่ได้จากการค้นหาของแต่ละยุคสมัยในแต่ละสังคมก็จะแตกต่างกันไป เพราะในช่วงเวลาที่ต่างกันผู้คนก็มีความคิดและให้ค่าต่อความงามไม่เหมือนกันเป็นต้น

โดย Visual Internet นั้นจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาพต่างๆ ทั้งในเชิง windows และ mirrors ซึ่งจะนำมาสู่ความเข้าใจว่าสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นคืออะไรและคาดเดาว่าคนที่เห็นภาพเหล่านี้จะตีความสิ่งที่เห็นว่าอย่างไรด้วยการใช้ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยมองภาพต่างๆ เพราะบ่อยครั้งความหมายของภาพอาจจะไม่ได้มาจากสิ่งที่เห็นโดยตรง แต่อาจต้องแปลงมาจากความคิดหรือจิตใต้สำนึกจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานด้วย

แม้ตอนนี้เราอาจจะยังสร้าง AI ที่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกเบื้องลึกของมนุษย์ได้แต่ก็น่าสนใจว่าความเป็นไปได้นี้อาจจะทำให้ AI สามารถดูพฤติกรรมของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อภาพต่างๆ และตีความได้ว่าผู้คนรู้สึกนึกคิดอย่างไรต่อภาพนั้นๆ ในอีกทางหนึ่งเรายังจะสามารถจัดกลุ่มคนแยกตามพื้นฐานปฏิกิริยาว่าพวกเขามีวิธีคิดต่อสิ่งต่างๆ อย่างไร ซึ่งข้อมูลเชิงลึกนี้ก็อาจจะนำไปใช้ต่อยอดในเชิงธุรกิจอย่างการเข้าใจตลาดและกลุ่มลูกค้าไปจนถึงการพัฒนาสินค้าเพื่อออกมาตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้ได้เช่นกันkrumbs-33-2-s-307x512

อย่างตอนนี้ก็เริ่มมีแอพพลิเคชั่นที่หันมาสนใจเรื่อง Visual Internet อย่าง Krumbs ของ Dr. Ramesh Jain อาจารย์ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ โดยเป็นแอพลิเคชั่นที่ให้เราถ่ายภาพสิ่งต่างๆ พร้อมขอให้ช่วยระบุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปด้วย เช่นระดับอารมณ์ของภาพถ้าย หรือสถานที่ถ่ายภาพนั้นๆ เพื่อให้การค้นหาภาพต่างๆ นั้นเป็นไปในเชิงลึกขึ้นกว่าเดิมเป็นต้นค่ะ

 

Source: techcrunch

comments