ให้หุ่นยนต์ทำงานร้วมกันได้ด้วย macro-actions
ในปัจจุบันนี้เริ่มมีบริษัทหรือร้านค้าหลายๆ แห่งนำเอาโดรนหรือหุ่นยนต์ต่างๆ เข้ามาใช้ในการส่งของหรือการให้บริการด้านต่างๆ กันมากขึ้นนะคะ แต่กระนั้นก็ยังไม่ค่อยเห็นมีใครนำเอาหุ่นยนต์มากกว่าหนึ่งตัวมาใช้งานร่วมกันนั่นเป็นเพราะมีความซับซ้อนมากกว่าและอาจทำให้การทำงานขาดประสิทธิภาพ
แต่ว่าล่าสุดที่งาน Robotics Science and Systems ทางทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ของ MIT ได้นำเสนอระบบใหม่อย่าง “macro-actions” ที่จะเข้ามาช่วยให้หุ่นยนต์มากกว่าหนึ่งตัวทำงานสอดคล้องกันได้รวดเร็ว แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้นที่สำคัญยังสามารถปฏิบัติงานได้แม้จะเจอสภาพแวดล้อมที่เหนือการคาดเดาอีกด้วย
โดยอัลกอลิทึ่มแบบใหม่นี้จะเข้ามาช่วยให้หุ่นยนต์ทั้ง 3ตัวนั้นสามารถทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้นร่วมกันได้ นอกจากจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาทั่วไปที่พบในหุ่นยนต์อย่างเรื่องของเซ็นเซอร์ระบุตำแหน่งทั้งของตัวมันเองและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่อาจคลาดเคลื่อนทำให้หุ่นยนต์ต้องใช้เวลานานทำงานกว่าที่ควร หรือด้านการสื่อสารระหว่างหุนยนต์ด้วยกันที่ยังมีข้อจำกัดด้านระยะห่างเพราะหากอยู่ไกลเกินไปก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้แล้วยังต้องรับมือกับเรื่องของความไม่แน่นอนอีกด้วย
ทั้งนี้ทางทีมผู้พัฒนาได้จำลองห้องทดลองเป็นบาร์ขนาดย่อมพร้อมนำหุ่นยนต์ 3ตัวมาเข้าร่วมในการทดลองนี้ 1ในนั้นคือ PR2 หรือหุ่นยนต์บาร์เทนเดอร์ ส่วนอีก 2ตัวนั้นเป็นหุ่นยนต์ Turtlebot หุ่นยนต์เสริฟ 4ล้อที่จะทำหน้าที่คอยเดินรับออเดอร์จากผู้คนตามโต๊ะต่างๆ ซึ่งนอกจากการรับออร์เดอร์แล้วพวกมันยังต้องคิดเผื่อถึงว่าหุ่นยนต์อีกตัวจะมาเสริฟเครื่องดื่มเมื่อไหร่เพื่อที่จะได้จัดรายการสั่งซื้อและคิวเสริฟต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านวิธีการแก้ปัญหาเรื่องความไม่แน่นอนนี้ก็คือโปรแกรมหุ่นยนต์ให้ทำงานต่างๆ เหมือนมนุษย์ มนุษย์ไม่คิดว่าเราจะต้องก้าวกี่ก้าว ก้าวละกี่ซ.ม. เฉียงกี่องศาเพื่อไปถึงจุดหยิบของ แต่เราใช้ประสบกาณ์แล้วเดินไปไหนๆ ได้จนเป็นเรื่องธรรมดา ทางทีมผู้พัฒนาจึงได้นำเอาหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้หุ่นยนต์ โดย “macro-actions” แต่ละอย่างนั้นจะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ รวมเป็นชุดเดียว พร้อมทั้งยังช่วยให้หุ่นยนต์สามารถคาดเดาเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในสถาณการณ์ต่างๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหุ่นยนต์เดินมาที่บาร์เครื่องดื่มมันจะต้องเตรียมสถาณการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นหุ่นยนต์บาร์เทนเดอร์อาจจะกำลังเสริฟเครื่องดื่มให้หุ่นยนต์อีกตัวอยู่, บาร์เทนเดอร์อาจจะไม่พร้อมเสริฟ หรือหุ่นยนต์บาร์เทนเดอร์อาจจะไม่เห็นมันเลยก็ได้ ซึ่งการคิดแบบนี้จะทำให้การทำงานของหุ่นยนต์นั้นมีความยืดหยุ่นมากและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งต่อจากนี้ทางทีมผู้วิจัยก็คาดว่าจะขยายการทดลองและเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ให้มากขึ้นกว่านี้ และแม้ตอนนี้ยังจะยังเป็นเพียงแค่การทดลองในห้องแลปแต่นี่ก็มีความเป็นไปได้มากที่เราจะเห็นหุ่นยนต์ที่ฉลาดขึ้นและทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายทั้งในโรงพยาบาล, ร้านอาหาร ไปจนถึงการใช้งานเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติต่างๆ ค่ะ
Source: weforum