เทรนการเลือกตั้งยุคดิจิตอล
ปัจจุบันนี้โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลแบบเต็มตัว เรามีอินเตอร์เน็ทที่เชื่อมโลกเข้าถึงกัน อินเตอร์เน็ทที่ให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้จากหลายมุมมอง และหากจะว่าไปเทรนในปัจจุบันนี้ก็ยิ่งตอบรับกับกระแสขแงโลกเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งนี่ก็รวมไปถึงวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
หากเราลองมองย้อนกลับไปเมื่อราว15ปีที่แล้ว ช่วงที่ผู้คนส่วนมากยังไม่ได้มีมือถือติดตัวไว้ใช้งาน ยุคที่ไม่ได้มีดาต้าบนมือถือเราไม่เคยเจอกับสังคมก้มหน้า แต่ขณะนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนทุกๆ คนก็ก้มมองแต่มือถือ ไม่ว่าจะเดิน นั่ง ไปจนถึงตอนทานข้าว
จะว่าไปแล้วการเปลี่ยนนี้ก็ส่งผลกระทบต่อหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงโฆษณาที่ต้องหาวิธีและช่องทางใหม่ๆ มานำเสนอ ร้านค้าต่างๆ เองก็พยายามผลักดันตัวเองให้ใกล้หน้าจอของลูกค้ามากขึ้น รวมไปถึงทางภาครัฐเองก็ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในการออกนโยบายด้านดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เศรษฐกิจดิจิตอล smart city ไปจนถึงการวางโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ทให้ครอบคลุมเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยเท่าเทียม
เห็นได้ว่าปัจจุบันนี้เรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องแทบจะกับทุกอย่างรวมไปถึงเรื่องการเมืองและการเลือกตั้งโดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองต้องเรียกคะแนนนิยมจากประชาชน จึงไม่น่าแปลกหากเราจะเริ่มเห็นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทั้งเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์พรรคการเมือง การติดต่อเพื่อเข้าถึงและใกล้ชิดกับประชาชน ตลอดจนการวางนโยบายต่างๆในการเลือกตั้งที่ต้องคำนึงถึงเรื่องเทคโนโลยีเพื่อปรับให้ทันกับความต้องการของสังคมด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของเรื่องนี้ก็คือโอบามาที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีจากการใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งผ่านแนวคิด Change ที่จะมา เปลี่ยนการเมืองอเมริกา ซึ่งสามารถช่วยดึงคนรุ่นใหม่และกลุ่มคนที่ไม่สนใจการเมืองรวมไปถึงกลุ่มประชาชนแต่รู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมสหรัฐมาเป็นฐานเสียงและช่วยกันผลักดันให้โอบามาได้มาเป็นประะธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ
ซึ่งโมเดลนี้นอกจากจะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าแล้วยังสื่อสารทางตรงกับมวลชนผู้สนับสนุนตัวเองได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นที่ใดผ่านทางสื่อออนไลน์และผลที่ได้ก็เกินคาดเพราะนี่ช่วยสร้างความผูกพัน ความมีส่วนร่วมระหว่างผู้สนับสนุนและผู้แทน
อย่างเช่นการสร้างเว็บไซต์ my.barackobama.com ที่ให้ผู้สนับสนุนแต่ละคนดูข้อมูลได้ว่าในละแวกใกล้เคียงกับที่ตัวเองอาศัยอยู่ มีใครบ้างที่สนับสนุนโอบามาเหมือนกับตัวเองบ้างและสามารถติดต่อกันเพื่อออกจากหน้าคอมไปช่วยกันหาเสียงในท้องถิ่นได้ และยังมีการเลือกใช้ YouTube ในตการแถลงต่างๆ เพื่อให้ผู้สนับสนุนสามารถฟังได้ในช่วงเวลาที่สะดวก ตอบรับกับวิถีชีวิตในยุคสมัยใหม่ที่คนส่วนมากต้องวุ่นวายกับการทำงานและชีวิตที่เร่งรีบ ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมรูปแบบของการหาเสียงเลยก็ว่าได้
จะเห็นว่าหากนำเอาเทคโนโลยีมาเลือกปรับใช้ทั้งด้านวิธีการสื่อสารและนโยบายในยุคดิจิตอลเช่นนี้นอกจากจะสามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายแล้วก็ยังตอบโจทย์ฐานเสียงได้ดีอีกด้วย และนี่ก็น่าจะเป็นเทรนที่เหล่าบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ทั่วโลกหันมาใช้กันในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต