สมัยนี้แค่ใบปริญญาอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องเสริมดวยทักษะ
ตามค่านิยมในหลายๆ ประเทศทั่วโลก การเรียนจบระดับมัธยมและเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยดีๆ เพื่อจะได้งานที่ดีและมั่นคงในอนาคตนั้นเป็นความใฝ่ฝันของเด็กและผู้ปกครองหลายๆ คน มาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 12 มีผลสำรวจว่าผู้เรียนถึง 86% เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเพราะเชื่อว่าจะได้งานที่ดีทำในอนาคต และแน่นอนว่าในมุมกลับกันผู้จ้างงานก็อยากได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานด้วยเช่นกัน
แต่ว่ายิ่งเราต้องการศึกษาในขั้นที่สูงขึ้นก็ต้องใช้เงินมากขึ้นโดยมีนักเรียนเป็นลูกค้าที่จ่ายเงินเข้าระบบการศึกษาเป็นล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก หลายๆ คนต้องเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศเพื่อให้ได้เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก แต่กระนั้นก็เริ่มเกิดคำถามขึ้นว่าในยุคสมัยนี้แค่ใบปริญญาอย่างเดียวอาจจะไม่พอหรือเปล่า? เพราะหลายๆ ครั้งบริษัทต้องเจอเด็กเกรดดีแต่ทำงานจริงไม่ได้ นั่นเป็นเพราะรูปแบบการศึกษาอาจจะไม่ได้มีการใส่ทักษะการที่ต้องใช้งานจริงเข้าไปในหลักสูตร
แต่ว่าด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าในปัจจุบันเรามีทั้งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ และอินเตอร์เน็ทที่สามารถเชื่อมโลกเข้าด้วยกันได้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราจึงเริ่มได้เห็นการปฏิรูปรูปแบบของการศึกษาให้ถูกขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นจากทุกมุมโลกในช่วงเวลาที่ผู้เรียนสะดวก อย่างในยุคแรกๆ เลยก็จะมีระบบ MOOC หรือ Massive Open Online Course เป็นคอร์สเรียนออนไลน์ที่ให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมเรียนพร้อมๆ กันได้ทีละมากๆ อย่างเช่นพวกข่านอะคาเดมี่
แม้ไอเดียจะดีเพราะนอกจากจะเปิดโอกาสด้านการเรียนรู้กับคนทั่วโลกแล้วก็ยังมีการเก็บข้อมูลของผู้เรียนไว้ตั้งแต่เริ่มจนจบซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจรับเข้าทำงานของบริษัทแต่กระนั้น MOOC ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเพราะว่ามีจำนวนผู้ที่เรียนจบคลาสน้อยมาก อาจเป็นเพราะไม่มีแรงขับเคลื่อนที่มากพอ เวลาอยู่บ้านก็อยากดูทีวีมากกว่ามานั่งเรียนหน้าจอ หรือไม่มีเพื่อนเรียนเป็นต้น นอกจากนี้ยังไม่ได้มีปริญญาหรือใบรับรองใดๆ เป็นการตอบแทนจึงไม่มีแรงจูงใจให้ผู้เรียนมากพอ
การเรียนออนไลน์ในยุคถัดๆ มาจึงต้องเพิ่มแรงจูงใจด้วยการมอบใบประกาศหรือแบดจ์เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรองว่าได้ทำตามเงื่อนไขที่คอร์สเรียนกำหนดไว้ ซึ่งนี่สามารถใช้ในการอ้างอิงการสมัครงาน แถมล่าสุดยังได้มีกรปรับปรุงรูปแบบให้การเรียนตอบโจทย์การทำงานในอนาคตมากขึ้นอย่าง Coursera เองก็ไปจับมือกับบริษัทใหญ่ๆ ทั้ง AT&Tและ MasterCard สร้างคอร์สเฉพาะเพื่อฝึกทักษะของผู้เรียนตามที่องค์กรต้องการและหากจบหลักสูตรผู้เรียนก็จะได้ใบประกาศไปพร้อมกับรู้เนื้องานที่ตัวเองจะทำวาต้องทำอะไร ประมาณไหน ส่วนบริษัทก็จะได้ตัวผู้เข้าร่วมงานที่มีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ
หรืออย่าง Udacity เองก็มีการเรียนที่มาตอบโจทย์วงการ tech โดยจะประเมินทักษะจากการทำโปรเจคที่ตอบโจทย์ความต้องการของว่าที่นายจ้างผ่าน boot camp ให้ได้ลองเขียนโค้ดกัน แบบนี้บริษัทก็สามารถวัดความสามารถของผู้เรียนและเลือกคนเข้าร่วมงานได้ตรงเป้าหมาย
การวัดทักษะและความสามารถในการทำจริงๆ แบบนี้ไม่ได้มีบอกในใบปริญญาจากมหาวิทยาลัยแบบเดิมๆ ซึ่งการรู้ทักษะเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับทั้งว่าที่ลูกจ้างและนายจ้าง และแม้ตอนนี้จะเป็นช่วงเริ่มๆ ของการเรียนออนไลน์ที่มีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับบริษัทต่างๆ แต่ในอนาคตนี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของการเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยและจะว่าไปก็เป็นเทรนที่น่าจับตามองมากทีเดียวค่ะ
Source: techcrunch