ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรบอกว่านายจ้างสามารถสอดส่องการสื่อสารในโลกออนไลน์ของพนักงานได้
ปัจจุบันนี้เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์กันมากขึ้น เราเก็บอะไรหลายๆ อย่างทั้งภาพ, ข้อมูลส่วนตัว ไปจนถึงการติดต่อไว้กับผู้ให้บริการเจ้าต่างๆ ดังนั้นในยุคนี้เรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลและพื้นที่ของบุคคลก็จึงยิ่งกลายมาเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งช่วงหลังๆ มานี้ผู้คนทั่วโลกก็ต่างตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้พร้อมกับมองว่าการสอดส่องจากภาครัฐไปจนถึงการเก็บข้อมูลจากบริษัทต่างๆ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ไม่ใช่กับลูกจ้างในสหภาพยุโรป …
ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ในประเทศฝรั่งเศส ได้มีคำพิพากษาออกมาว่านายจ้างนั้นสามารถสอดส่องการสื่อสารในโลกออนไลน์ของพนักงานได้
โดยนี่มีที่มาจากคดีที่วิศวกรชาวโรมาเนียคนหนึ่งที่ถูกไล่ออกเมื่อปี 2550 หลังบริษัทพบว่าใช้ยาฮู เมสเซนเจอร์สนทนาส่วนตัว ไม่ได้ติดต่อเฉพาะเรื่องงานอย่างเดียว ซึ่งผิดนโยบายบริษัทที่ห้ามไว้ ซึ่งในครั้งนั้นศาลไม่รับฟังข้อโต้แย้งของวิศวกรที่ว่าบริษัทละเมิดสิทธิ์ในการรักษาความลับการสื่อสาร แต่กลับเห็นว่านี่เป็นเรื่องสมเหตุควรแล้วหากนายจ้างต้องการพิสูจน์ว่าลูกทำหน้าที่ตามที่ได้จ้างมาระหว่างเวลางานหรือไม่ และหากลูกจ้างนั้นใช้แต่การทำงานจริงๆ ตามที่บริษัทกำหนดก็จะมีแต่ข้อมูลของบริษัทเท่านั้น จึงไม่ถือว่าละเมิดลูกจ้าง
ทั้งนี้การเข้าดูข้อมูลนั้นก็มีข้อจำกัดว่านายจ้างมีสิทธิเฉพาะการดูสิ่งที่เกิดขึ้นบนคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์หรือ ระบบของนายจ้างเท่านั้น แต่ยังไม่แน่ชัดว่านี่จะตีความครอบคลุมถึงการใช้สื่อออนไลน์ทั้งหมดระหว่างเวลางานผ่านเครื่องหรือระบบของนายจ้างหรือจะหมายถึงแค่การใช้สื่อที่ถูกกำหนดไว้เพื่อการทำงานของบริษัทเท่านั้น
ซึ่งจะว่าไปก็คล้ายๆ เหตุการณ์ช่วงต้นปี 2015 ในบ้านเราที่อธิบดีกรมการปกครองออกแนวทางการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารของทางราชการกรมการปกครอง โดยห้ามใช้คอมพิวเตอร์ราชการ เล่นโซเชียลมีเดีย อาทิ เฟซบุ๊ก ไลน์ หรืออีเมล์ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานระหว่างเวลางาน หากพบมีการทำผิดนายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างออกจากงานได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและลูกจ้างเรียกค่าสินไหมทดแทนไม่ได้
งานนี้ลูกจ้างทั้งหลายคงต้องคิดให้รอบคอบในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการส่วนตัวในเวลาทำงานแล้วหละ
Source: huffingtonpost