VR ช่วยรักษาอาการโรคซึมเศร้า
แม้ Virtual Reality จะเกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การเล่นเกมได้แบบสมจริงเต็มอรรถรส แต่ช่วงหลังๆ ก็มีการพัฒนาให้ใช้งานได้หลากหลายและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเติมเต็มประสบการณ์การดูหนังไปจนถึงการใช้เพื่อวงการศึกษา แต่ล่าสุดล้ำไปกว่านั้นเพราะมีการนำ VR ไปใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าแล้วใช้เพื่อการศึกษา แถมล่าสุดมันยังถูกเอามาช่วยในการบำบัดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
ผลการศึกษาจาก University College London ที่ตีพิมพ์ในวารสารจดหมายเหตุทางจิตเวชของอังกฤษเผยว่า VR นั้นสามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าได้โดยจะเพิ่มความเห็นอกเห็นใจ การให้อภัยตัวเองและช่วยให้ผู้ป่วยวิจารณ์ตนเองเชิงลบน้อยลง ซึ่งทั้งหมดนั้นจะช่วยบรรเทาความทุกข์ให้กับผู้ป่วยได้มาก
จากการศึกษาผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จากการศึกษาผู้ป่วย15คนให้ได้รับการรักษาด้วย VR โดยให้ผู้ป่วยสวมใส่แว่น VR และแทนตัวเองเข้าไปเป็นตัวละครในเนื้อหาของ VR ที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ในมุมมองของบุคคลที่ 1 ทำให้ผู้ป่วยสามารถเชื่อได้อย่างสนิทใจว่าประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ นั้นได้เกิดขึ้นจริง เพราะเมื่อผู้ป่วยเดินไปทางไหน ขยับตัวอย่างไรสิ่งที่เห็นในแว่น VR ก็จะเป็นไปตามนั้นอย่างสมจริง
ส่วนเนื้อหาใน VR นั้นจะสร้างมาจากลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าที่มักจะโทษตัวเอง หรือไม่เคยเห็นอกเห็นใจกับเรื่องที่ตนเคยผ่านมา แต่กระนั้นผู้ป่วยเหล่านี้ยังมีความเข้าใจและเห็นใจผู้อื่นอยู่ และเมื่อเข้าไปในโลก VR ผู้ป่วยจะได้เห็นเด็กที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทนอยู่ตรงหน้า ซึ่งแน่นอนว่าผู้ป่วยทุกคนนั้นปลอบโยนเด็กด้วยความอ่อนโยนซึ่งนั่นทำให้เด็กน้อยสงบลงและยอมหยุดร้องไห้
จากนั้นผู้ป่วยจะถูกสลับให้ไปแทนตัวเองในร่างของเด็กคนดังกล่าวเพื่อให้มองมายังผู้ใหญ่ที่แสดงความเห็นอกเห็นใจต่อพวกเขา พร้อมย้อนเหตุการณ์ให้เด็กน้อยได้กลับไปฟังคำปลอบโยนจากผู้ใหญ่ซึ่งก็คือตัวผู้ป่วยเองอีกครั้ง ซึ่งเมื่อได้ฟังเสียงและคำพูดของตัวเองแบบนี้ก็เป็นเหมือนการที่ผู้ป่วยยอมเห็นอกเห็นใจและให้อภัยตัวเอง ซึ่งการเริ่มรับฟังและยอมรับความเห็นอกเห็นใจนี้จะยังช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับคำแนนำหรือความเห็นใจจากคนอื่นๆ รวมถึงหมอที่รักษาด้วย
และผลของการเข้ารับการบำบัดด้วย VR เช่นนี้เมื่อผ่านไป 1เดือนพบว่าได้ผลดีทีเดียว ผู้ป่วย 9คนเผยว่ามีอาการซึมเศร้าลดลง, ผู้ป่วย 4คน รู้สึกได้ชัดว่าอาการของพวกเขาดีขึ้นมาก แถมผู้ป่วยบางคนยังบอกด้วยว่าพวกเขาวิจารณ์และตำหนิตัวเองน้อยลงเมื่อเจอสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตจริงหลังจากการรักษานี้
โดยช่วงหนึ่งของการรักษานั้นจะใช้เข้ามาช่วย ให้ผู้ป่วยสวมใส่แว่นให้เสมือนผู้ป่วยเป็นตัวละึครนั้นจริงๆซึ่งนอกจากจะใช้ได้ผลที่น่าพอใจแล้วการเลือกใช้ VR ที่ปัจจุบันเริ่มแพร่หลายและสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น Google Cardboard ที่มีราคาไม่ถึงร้อยและยังสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตัวเองก็ยิ่งเป็นตัวช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าแต่ยังไม่อยากไปพบแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สะดวกในการเดินทาง ค่าใช้จ่าย หรือเรื่องทัศนคติในการไปหาจิตแพทย์เองก็ตามสามารถเยียวยาตนเองได้
แต่อย่างที่บอกไปนะคะว่านี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้นต่อจากนี้ยังต้องมีการพัฒนาเนื้อหาของ VR อีกมาก ทั้งยังต้องนำเอาข้อมูลที่ได้รับจากผู้ป่วยมาร่วมในการวิเคราะห์สร้างเนื้อหาต่างๆ อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามนี้ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากทีเดียว
Source: huffpost