อยู่บนอวกาศอาจจะไม่สนุกอย่างที่คิดเพราะต้องเจออินเตอร์เน็ทสุดอืด
ไม่ว่าที่ไหนๆ มนุษย์เราก็ต้องการใช้อินเตอร์เนทไม่ใช่แค่ในโลกนะคะ แม้แต่บนอวกาศก็ไม่เว้น เพราะว่ามนุษย์อวกาศและสถานีอวกาศเองก็จะต้องใช้อินเตอร์เน็ทในการรับ-ส่งข้อมูล โดยนักบินอวกาศจะมีแท็บเล็ตที่ใช้ในการปฏิบัติการและใช้ video conference ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนๆ บนโลก พร้อมมี laptop ที่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ทได้แบบจำกัดเว็ปไซต์ ซึ่งก็ใช้งานได้ทั้ง อีเมล Twitter ไปจนถึงการเข้าเว็ปไซต์ข่าวสารต่างๆ
แต่แม้อินเตอร์เน็ทบนโลกเราจะได้รับการพัฒนาให้ไวแค่ไหนแต่บนอวกาศที่เทคโนโลยีล้ำหน้านั้นอินเตอร์เน็ทกลับอืดสุดๆ แย่เสียยิ่งกว่าอินเตอร์เน็ทสมัยที่เราต้องต่อผ่านโมเด็มรุ่นเก่า 56k เสียอีก ซึ่งนั่นหมายความว่าเน็ทบนอวกาศจะช้ากว่าเน็ทที่เราใช้กันที่บ้านหลายพันเท่าเลยทีเดียว
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าระยะเวลาที่ข้อมูลเดินทางนานกว่าปกติมาก เมื่อนักบินอวกาศต้องการเข้าเว็ปไซต์สักเว็ปจากบนอวกาศคำขอเข้าหน้าเว็ปนั้นจะต้องเดินทางจากจุดที่เขาหรือเธออยู่ไปยังดาวเทียมพ้องคาบโลกดวงที่ใกล้ที่สุดซึ่งดาวเทียมประเภทนี้จะมีเส้นทางวงโคจรที่เวียนมาซ้ำจุดเดิมอยู่เสมอ จากนั้นดาวเทียมนี้จะส่งสัญญาณลงมายังตัวรับสัญญาณที่พื้นโลก ก่อนที่จะส่งสัญญาณตอบรับกลับไปยังนักบินอวกาศแบบเดียวกับที่มันเดินทางมา ซึ่งเมื่อคิดเป็นระยะทางแล้วไหลกว่า 22,000 ไมล์เลยทีเดียว แถมความเร็วในการสื่อสารนี้ยังขึ้นอยู่กับอีกหลากหลายปัจจัย ทั้งความแรงของอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ตัวยานสำรวจ หรือสัญญาณรบกวนจากบรรยากาศอีกด้วย
และหากจะแก้ปัญหาเรื่องความเร็วอินเตอร์เน็ทนี้ทาง NASA อาจจะต้องปรับไปใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบ laser-based หรือการรับ-ส่งข้อมูลด้วยลำแสงเลเซอร์ความเข้มสูงเพื่อเป็นสื่อกลางไปยังตัวรับในอวกาศแทน ซึ่งนอกจากจะให้ความเร็วสูงกว่ามากแล้วยังไม่จำเป็นต้องใช้จานดาวเทียมขนาดใหญ่มาเป็นตัวรับสัญญาณอีกด้วย แม้ตอนนี้ทาง NASA จะเริ่มทดลอง laser-based ไปบ้างแล้วแต่กระนั้นก่อนที่จะพร้อมใช้งานอย่างเต็มรูปแบบก็ยังจะต้องพัฒนาอีกมากทั้งเรื่องของความแม่นยำของเลเซอร์และการหลีกเลี่ยงการรบกวนของชั้นบรรยากาศโลกอีกด้วย
แต่ว่านอกจากการส่งอินเตอร์เน็ทจากโลกไปให้นักอวกาศแล้วก็ยังมีไอเดียกลับกันอย่าง Outernet ที่หวังจะปล่อยเน็ทจากอวกาศลงมาให้คนทั่วโลกได้ใช้กันซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำทางการเข้าถึงอินเตอร์เน็ทและองค์ความรู้ด้วยการเปิดให้ทุกๆ คนจากทุกๆ พื้นที่บนโลกสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้แบบฟรีๆ ไอเดียเดียวกันกับ Project Loon หรือ Internet.org เพียงแต่งานนี้เปลี่ยนวิธีการไปเป็นการปล่อยดาวเทียมหลายร้อยดวงขึ้นสู่อวกาศเพื่อรับสัญญาณจากสถานีภาคพื้นแล้วส่งต่อไปยังผู้ใช้งานทั่วโลกแทนซึ่งก็จะครอบคลุมพื้นที่มากกว่าโปปรเจ็คอื่นๆ ค่ะ